วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2561

      สวัสดีครับ ผมชื่อ นาย พิพัฒน์ เล้าประเสริฐ ชื่อเล่น แพ้ว 
เกิดวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2542  อายุ 18 ปี 

ที่อยู่ปัจจุบัน 121 หมู่ 2 ต. ชัยมงคล อ. เมือง จ. สมุทรสาคร

กำลังศึกษาอยู่ที่ วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร แผนก อิเล็กทรอนิกส์ ปวช.3 





              หัวขอที่ 1 CPU 
          CPU ย่อมาจาก Central Processing Unit ซึ่งเป็นอุปกรณ์ฮาร์แวร์ที่ประกอบด้วยสารซิลิกอนที่เป็นสารกึ่งตัวนำทางอิเล็กทรอนิกส์ผสมกับสารบ้างอย่างที่สามารถทำให้มีการเหนี่ยวนำไฟฟ้าได้ โดยสารซิลิกอนที่มีการผสมกับสารวัสดุบางชนิดเรียบร้อยแล้วเราจะเรียกว่าทรานซิสเตอร์ ภายในซีพียูจะประกอบด้วยทรานซิสเตอร์หลายสิบล้านตัว หรือมากกว่านั้นแน่นอนว่า ทรานซิสเตอร์เหล่านี้มีหน้าที่คอยควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆในคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณ หรือการวิเคราะห์ข้อมูล แต่การทำงานของซีพียูจะมีความร้อนสูง ทำให้ต้องมีการติดซิงค์และพัดลมระบายความร้อนให้กับซีพียูเสมอ เนื่องจากถ้าเกิดให้ความร้อนในตัวซีพียูสูงมากอาจจะทำให้ซีพียูชำรุดและเสียได้ในที่สุด
CPU Intel 8088 รุ่นแรกๆที่ถูกผลิตมาใช้งาน
          CPU ทำหน้าที่อะไรในระบบคอมพิวเตอร์
อย่างที่กล่าวไปแล้วในตอนต้นว่า ซีพียู (CPU)เปรียบเสมือนสมองของมนุษย์ที่คอยควบคุมร่างกายและตรวจสอบการทำงานของร่างกาย ซีพียูก็ทำงานเช่นเดียวกัน
          1. เริ่มจากการได้คำสั่งจากอุปกรณ์นำข้อมูล (input) ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านั้นจะถูกส่งมาเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักหรือที่เราเรียกว่า แรม (RAM) แรมจะคอยจัดเรียงคำสั่งตามลำดับที่คำสั่งเข้ามาและตามระดับความสำคัญ โดยแรมมีหน้าที่ป้อนคำสั่งต่างๆที่ละคำสั่งให้กับซีพียู (CPU)
          2. เมื่อซีพียูได้รับคำสั่งที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลักแล้วก็ทำการประมวลผลทีละคำสั่งที่เข้ามาตามลำดับ หลังจากประมวลผลเสร็จแล้วก็จะส่งผลลัพธ์ที่ประมวลผลเสร็จไปยัง RAM อีกครั้ง
          3. แรม (RAM) จะรับผลลัพธ์จากการประมวลผลของซีพียูในรูปแบบคำสั่ง แรมจะทำการส่งคำสั่งไปยังอุปกรณ์ที่อยู่ในคำสั่งที่ประมวลผล หลังจากที่คำสั่งถูกทำจนเสร็จแรมก็จะส่งข้อมูลไปแจ้งกับซีพียูว่าคำสั่งที่ส่งมาได้มีการปฏิบัติเรียบร้อยแล้ว
          จากการทำงาน 3 ขั้นตอนข้างต้นเรียกว่าครบวงจรการทำงานของซีพียูในระบบคอมพิวเตอร์ โดยความเร็วในการประมวลผลแต่ละครั้งจะขึ้นอยู่กับความสามารถในซีพียูนั้น ๆที่มีการสร้างขึ้นมานั้นเอง
ระบบคอมพิวเตอร์ใดๆ จะทำงานไม่ได้เลยถ้าขาด CPU
          ประโยชน์ของซีพียู
ประโยชน์ของซีพียูก็คือการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ทำงานอย่างเป็นระบบด้วยการคิดคำนวณและประมวลผลคำสั่งต่าง ๆที่ได้รับมาจากหน่วยความจำหลัก ถ้าไม่มีซีพียูเครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะไม่สามารถทำงานได้ด้วย
          ประวัติความเป็นมาของซีพียู
          ในตลาดของซีพียูนั้นมีผู้ผลิตซีพียูอยู่หลายค่ายด้วยกันแต่ในบทความนี้จะเล่าถึงค่ายซีพียูที่เป็นค่ายใหญ่ 2 ค่ายที่คอยแข่งขันและฟาดฟันในด้านเทคโนโลยีของซีพียูมาโดยตลอด 2 ค่ายยักษ์ใหญ่นี้ก็คือ Intel (อินเทล) และ AMD (เอเอ็มดี)
          ประวัติความเป็นมาของซีพียู Intel นั้นมีมาอย่างยาวนานตั้งแต่เริ่มมีการผลิตซีพียูชื่อของซีพียู intel ก็อยู่ในอันดับต้น ๆของผู้ผลิตซีพียูเสมอมา ซึ่งอินเทลพัฒนาซีพียูตั้งแต่ซีพียู 8086, 8088 และซีพียูในตระกูล 80×86 มาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งมาถึง Celeron Pentium II และ Celeron Pentium III ซึ่ง 2 รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ได้สร้างชื่อให้กับอินเทลเป็นอย่างมาก มีการพัฒนา Pentium 4 ขึ้นมารองรับการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ใช้งานได้หลากหลายขึ้น
          การพัฒนาซีพียูของอินเทลไม่ได้หยุดเพียงแค่ Pentium 4 เท่านั้นเพราะหลังจากนั้นไม่นานอินเทลก็ได้เปิดตัวซีพียูที่ทำงานได้เร็วกว่าซีพียูรุ่นเก่า ๆที่ผ่านมาด้วยการเปิดตัวซีพียูรุ่น Core 2 Duo และ Core 2 Extreme หรือที่เรารู้จักในชื่อว่าDual-Core โดยรุ่นล่าสุดของ intel จะเป็น รุ่นอินเทล คอร์ (Intel Core) รุ่นนี้ได้มีการพัฒนามาตั้งแต่คอร์ i3 ,คอร์ i5, คอร์ i7 และคอร์ i7 เอกซ์ตรีม (Core i7 Extreme ) มีความเร็วสูงสุด 3.2 GHz ในรุ่น LGA1366ทำงานด้วย FSB 800/1066/1333/1600MHz มี L2 Cache ขนาด 8 MB ค่า TDP สูงสุด 130 W
Intel Core i Series, CPU ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน
          ประวัติของซีพียู AMD ซึ่งผลิตมาจากบริษัท Advanced Micro Device (AMD) เป็นซีพียูที่สร้างชื่อและทำให้ทุกคนรู้จัก AMD อย่างกว้างขวางมาจากรุ่น K5 ที่ออกมาชนกับซีพียูของ intel ในรุ่น Pentium หลังจากนั้นซีพียู AMD ก็ออกรุ่นต่างๆที่มีความสามารถเทียบเท่ากับซีพียูจากอินเทล แต่ราคาของซีพียู AMD จะถูกกว่า ทำให้ซีพียู AMD เป็นที่สนใจของหลายคนในเวลานั้น หลังจากนั้น AMD ได้มุ่งเน้นพัฒนาซีพียูให้มีความสามารถเทียบเท่ากับซีพียูจากค่าย Intel โดยออกมาซีพียูมาอีกหลายรุ่น ดังนี้ K5 ,K6, K6-2 ,Sharptooth (K6-III), K6-2+, K6-III+, K7 / Athlon , Argon ,Thunderbird (Athlon), Palomino (Athlon), Thoroughbred (Athlon) ,Barton (Athlon), Spitfire (Duron), Duron, Morgan (Duron), Appoloosa (Duron) ,Mustang, SledgeHammer, ClawHammer และซีพียูรุ่นล่าสุดและได้รับความนิยมอย่างมากก็คือ AMD FX-8350 นั่นเอง
CPU รุ่น AMD FX-8350
          จากข้อมูลที่ได้มาจะสังเกตได้ว่า บริษัทอินเทล จะมีการพัฒนาซีพียูอย่างต่อเนื่องภายใต้ชื่อรุ่นเดิม ซึ่งตอนนี้อินเทลก็มีซีพียูรุ่น Core i7 เป็นรุ่นล่าสุด แต่รุ่นที่นิยมที่สุดก็คือ INTEL Core i5-4440 ซึ่งเป้าหมายทางการตลาดระหว่างอินเทลและเอเอ็มดีนั้นแตกต่างกันเนื่องจาก AMD จะเน้นตลาดในกลุ่มลูกค้าระดับกลางราคาของซีพียู AMD จะถูกกว่าราคาของ Intel เสมอโดยเทียบกับความสามารถของซีพียู แต่เรื่องของการใช้งานก็คงแล้วแต่ว่าผู้ใช้งานชอบใจจะใช้ค่ายไหนเพราะทั้ง 2 ค่ายต่างก็เป็นซีพียูที่มีคุณภาพด้วยกันทั้งสิ้น

              หัวขอที่ 2 เมนบอร์ด
         เมนบอร์ดคืออะไร
          เมนบอร์ด (Mainboard) นั้นมีชื่อเรียกอยู่หลายชื่อด้วยกัน อาทิ มาเธอร์บอร์ด (motherboard), ซิสเต็มบอร์ด (system board), ลอจิกบอร์ด (logic board) หรือในบางประเทศก็เรียกว่า โมโบ (mobo) ซึ่งเป็นคำย่อจาก motherboard
          เมนบอร์ด คือแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีส่วนสำคัญมากของคอมพิวเตอร์ เป็นแผงวงจรหลักที่คอยสั่งการให้อุปกรณ์ต่างๆที่มีการเชื่อมต่อทำงานตามคำสั่ง ซึ่งเมนบอร์ดนั้นจะเป็นแผงวงจรที่รวมเอาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ด้วยกัน อาทิ ซ็อกเก็ตสำหรับใส่ ซีพียู (CPU) และหน่วยความจำหลักและหน่วยความจำถาวร มีไบออสเป็นเฟิร์มแวร์ พร้อมช่องให้สามารถเสียบอุปกรณ์ เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมอื่นๆ โดยสามารถเชื่อมต่อได้ทั้งอุปกรณ์ภายในและอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอก
ATX Mainboard คือ Mainboard ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน
          เมนบอร์ดได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีมาอย่างต่อเนื่องซึ่งในปัจจุบันได้มีรูปแบบที่นิยมใช้งานในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลก็คือ ATX (Advance Technology Extension) โดยเราสามารถแบบช่วงการพัฒนาเมนบอร์ดได้ดังนี้
          – PC/XT เป็นรุ่นบุกเบิกสร้างขึ้นโดยบริษัท IBM
          – AT (Advance Technology) มีชื่อในยุค 386 แต่ตกรุ่นเมื่อมีรุ่น ATX
          – ATX เป็นรุ่นที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน
          – ETX ใช้ใน embedded systems
          – LPX ออกแบบโดย Western Digital BTX (Balanced Technology eXtended) เป็นแผงวงจรหลักรุ่นใหม่ที่ถูกนำเสนอโดย Intel Mini-ITX (VIA Epia) ออกแบบโดย VIA
          – WTX (Workstaion Technology eXtended) เป็นแผงวงจรหลักสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
          ในปัจจุบันมาตรฐานเมนบอร์ดที่ใช้อยู่ก็มีอยู่ 2 แบบคือ ATX และ เมนบอร์ดมาตรฐาน Mini-ITX เป็นเมนบอร์ดขนาดเล็กสำหรับคอมพิวเตอร์ทีมีขนาดเล็กจะสังเกตได้ว่าขนาดเมนบอร์ดจะเล็กกว่าเมนบอร์ดทั่วไป ซึ่งเมนบอร์ดรุ่น Mini – ITX นี้จะใช้เพื่อความบันเทิงเสียเป็นส่วนใหญ่
          เมนบอร์ดทำหน้าที่อะไร
          เมนบอร์ด เป็นแผงวงจรหลักที่มีความสำคัญซึ่งมีหน้าที่คอยควบคุมและจัดการให้กับอุปกรณ์ต่างๆทำงานเชื่อมโยงกัน โดยเมนบอร์ดจะรับส่งข้อมูลต่าง ๆจากตัวอุปกรณ์ต่างๆไปยังซีพียู และรับคำสั่งที่ได้รับการประมวลผลจากซีพียู นำไปส่งให้อุปกรณ์นั้นๆเพื่อให้การทำงานต่างๆไม่ติดขัด
ประโยชน์ของเมนบอร์ดมีอะไรบ้าง
          อย่างที่รู้กันว่าเมนบอร์ด เป็นส่วนประกอบที่สำคัญมาก ซึ่งประโยชน์ของเมนบอร์ดนั้นมีหลายอย่างด้วยกัน เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักในการเชื่อมต่อและควบคุมอุปกรณ์ต่างๆในเครื่อง ถ้าเมนบอร์ดไม่มีคุณภาพอาจจะทำให้ข้อมูลและอุปกรณ์ต่าง ๆเสียหายได้
          ซึ่งถ้าเมนบอร์ดที่ใช้งานมีเสถียรภาพและคุณภาพที่ดี จะทำให้การทำงานในแต่ละครั้งไหลลื่น อุปกรณ์ทุกอย่างจะทำงานอย่างไม่มีสะดุด เป็นผลให้เพิ่มอายุการใช้งานของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ด้วย
การพัฒนารูปแบบและมาตรฐานเมนบอร์ดที่มีมาอย่างต่อเนื่องนั้นก็เพื่อป้องกันจุดด้อยที่ต้องระวังไม่ให้เกิดกับอุปกรณ์ที่ติดตั้งในเมนบอร์ดมากที่สุด จุดที่ต้องระวังมากที่สุดก็คือเรื่องของความร้อน สาเหตุที่ปัจจุบันนิยมใช้มาตรฐาน ATX (Advance Technology Extension) ก็เพราะว่ามีการวางตำแหน่งซีพียูและอุปกรณ์ต่างๆให้สามารถระบายความร้อนได้ดีนั้นเอง    


หัวขอที่ 3 แรม
RAM ย่อมาจาก Random Access Memory
            RAM คือหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ (เป็นหน่วยความจำแบบชั่วคราว ซึ่งหมายถึงจะสามารถทำงานได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยง เมื่อมีการตัดกระแสไฟฟ้าหรือปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลใน RAM ก็จะหายไป) RAM เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม รวมถึงความเร็วในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
            RAM ทำหน้าที่อะไร
RAM ทำหน้าที่รับข้อมูลหรือชุดคำสั่งจากโปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆที่กำลังเปิดใช้งานอยู่ในคอมพิวเตอร์ แล้วส่งต่อไปยัง CPU หรือ Central Processing Unit ซึ่งเป็นหัวใจหรือสมองของคอมพิวเตอร์นั้นๆให้ประมวลผล คำนวณ และวิเคราะห์ข้อมูลตามต้องการ เมื่อ CPU คำนวณเสร็จแล้ว จะส่งผลการคำนวณหรือวิเคราะห์นั้นๆกลับมายัง RAM เพื่อส่งต่อไปยังโปรแกรมเจ้าของชุดคำสั่ง ก่อนจะแสดงผลของการคำนวณออกมาทาง Output devices ต่างๆ เช่น ทางหน้าจอมอนิเตอร์หรือเครื่องพิมพ์ เป็นต้น

ตัวอย่าง RAM ที่พบเห็นได้ทั่วไป
การทำงานของ RAM นั้น จะเป็นการทำงานหรือการเขียน/บันทึกข้อมูลแบบสุ่ม ซึ่งหมายถึง หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU สามารถเข้าถึงทุกส่วนของ RAM ได้ สามารถบันทึกข้อมูลลงตรงจุดไหนก็ได้ วัตถุประสงค์ก็เพื่อเพิ่มความเร็วในการบันทึกและอ่านข้อมูลนั่นเอง ตรงนี้เองที่เป็นที่มาของคำว่า Random access
RAM สามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ดังนี้
1. Input Storage Area
เนื้อที่ RAM ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่รับข้อมูลจาก Input devices เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ Barcode reader และอื่นๆ โดยจะเก็บไว้เพื่อส่งให้ CPU ทำการประมวผล คำนวณหรือวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นต่อไป
2. Working Storage Area 
เนื้อที่ RAM ส่วนนี้เป็นพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผลของ CPU
3. Output Storage Area
เนื้อที่ RAM ส่วนนี้เป็นพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล คำนวณ และวิเคราะห์โดยหน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU แล้วและอยู่ระหว่างรอส่งผลการประมวลดังกล่าวกลับคืนไปให้โปรแกรมเจ้าของชุดคำสั่ง เพื่อแสดงผลทาง Output devices ตามที่ผู้ใช้งานกำหนดไว้
4. Program Storage Area
เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่งชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วนนี้ทีละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสั่งให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุมจะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ หน่วยความจำจะจัดอยู่ในลักษณะแถวแนวตั้ง (CAS:Column Address Strobe) และแถวแนวนอน (RAS:Row Address Strobe) เป็นโครงสร้างแบบเมทริกซ์ (Matrix) โดยจะมีวงจรควบคุมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงจรในชิปเซต (Chipset) ควบคุมอยู่ โดยวงจรเหล่านี้จะส่งสัญญาณกำหนดแถวแนวตั้ง และสัญญาณแถวแนวนอนไปยังหน่วยความจำเพื่อกำหนดตำแหน่งของข้อมูลในหน่วยความจำที่จะใช้งาน
          เมื่อพิจารณาจากหน้าที่ของ RAM ในระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ก็จะเห็นว่า RAM เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญยิ่ง และเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ยิ่งคอมพิวเตอร์เครื่องใดมี RAM มาก ก็จะมีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้นด้วย แต่การจะเพิ่ม RAM ให้กับระบบคอมพิวเตอร์นั้นเราต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย เช่น งบประมาณ ความต้องการแรมของโปรแกรมที่เราใช้งาน และจำนวนช่อง (Slot) ในแผลวงจรหลักที่สามารถรองรับ RAM ได้เพิ่มอีกหรือไม่ เป็นต้น
         RAM มีกี่ชนิด อะไรบ้าง
แรมมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน เช่น
         - SRAM (Static RAM)
         - NV-RAM (Non-volatile RAM)
         - DRAM (Dynamic RAM)
         - Dual-ported RAM
         - Video RAM
         - WRAM
         - FeRAM
         - MRAM
          RAM ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ 2 ประเภทคือ
         - SDRAM (Synchronous Dynamic Random Access Memory)
         - DDR RAM หรือ DDR-SDRAM (Double Data Rate SDRAM)
โดยที่ DDR SDRAM นั้นได้รับความนิยมมากกว่าในปัจจุบันเนื่องจากมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลมากกว่าแบบ SDRAM ธรรมดา ส่วนราคานั้นก็ไม่แตกต่างกันมาก

         Module หรือ รูปแบบของ RAM ที่นิยมใช้มีดังนี้
        - Single in-line Pin Package (SIPP)
        - Dual in-line Package (DIP)        - Single in-line memory module (SIMM)        - Dual in-line memory module (DIMM)        - Small outline DIMM (SO-DIMM) เป็น DIMM ที่มีขนาดเล็ก ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แล็บท็อป        - Small outline RIMM (SO-RIMM)

Module ของ RAM ชนิดต่างๆ




หัวขอที่ 4 การ์ดจอ
การ์ดจอคืออะไร และ มีหลักการทำงานอย่างไร           
คอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันอยู่ในทุกวันนี้แม้ว่าคุณภาพพื้นฐานโดยรวมนับได้ว่าสามารถใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหา แต่สำหรับหลายๆ คนที่มีความจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพสูงกว่าปกติเพื่อสนองความต้องการของตัวเอง การเรียนรู้และรู้จักส่วนประกอบที่สำคัญของคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยดึงศักยภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้นไปอีกถือว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมาก การ์ดแสดงผลหรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อของการ์ดจอนับว่าเป็นอุปกรณ์สำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์อีกชิ้นหนึ่งที่เรียกได้ว่า คนที่มีความเชี่ยวชาญในด้านคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

การ์ดจอคืออะไร

การ์ดจอ
การ์ดจอเปรียบเสมือนตัวการสำคัญที่ใช้สำหรับการแสดงผลต่างๆ บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นการนำผลการประมวลที่ได้จากซีพียูส่งต่อไปยังหน้าจอ ลักษณะของการ์ดจอจะเป็นเหมือนแผงวงจรประเภทหนึ่ง โดยปกติหากเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทั่วๆ ไป อาทิ พิมพ์งาน หรือเล่นอินเตอร์เน็ต ก็จะใช้การ์ดจอแบบ 2 มิติ คือไม่ได้แสดงผลอะไรที่ซับซ้อนมากนัก แต่ถ้าหากเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้ประมวลผลเยอะและใช้เล่นเกมหรือทำกราฟฟิค 3 มิติ มากๆ ก็มีความจำเป็นทีจะต้องใช้การ์ดจอแบบ 3 มิติ เพื่อที่จะให้การแสดงผลนั้นมีความชัดเจนและได้ผลดีที่สุด

            หลักการทำงานของการ์ดจอ

หากเป็นหลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดจอนั้นจะเริ่มเมื่อโปรแกรมต่างๆ ที่เราใช้งานนั้นถูกส่งเพื่อให้มีการประมวลผลที่ CPU เมื่อมีการประเมินผลเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จะส่งผลประมวลที่ได้นั้นมายังการ์ดจอเพื่อให้การ์ดจอได้แสดงผลออกมาที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ และการ์ดจอก็จะทำหน้าที่ในการแสดงผลที่ประมวลออกมานั้นให้ผู้ใช้งานได้รู้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง โดยในปัจจุบันถ้าหากเป็นการ์ดจอรุ่นใหม่ๆ ก็จะมีระบบในการเพิ่มความเร็วในการแสดงผลแบบ 3 มิติ และมีการเพิ่มหน่วยความจำให้อย่างเต็มที่ที่สุดเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยให้มากที่สุด

การเลือกซื้อการ์ดจอที่เหมาะกับการใช้งาน

สำหรับการเลือกซื้อการ์ดจอเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานให้มากที่สุดนั้นสิ่งสำคัญจะอยู่ที่ตัวของผู้ใช้งานเป็นหลัก เพราะตัวของผู้ใช้งานนั้นจะต้องรู้ตัวเองว่าปกติแล้วตัวเองเป็นคนใช้งานคอมพิวเตอร์ในลักษณะไหนมากที่สุด ถ้าหากว่าเป็นการใช้แบบธรรมดาทั่วไปไม่ได้เพิ่มอะไรเข้าไปมาก การใช้การ์ดจอที่มาจากคอมพิวเตอร์ปกติก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ทว่าหากรู้ตัวเองว่าชื่นชอบการเล่นเกมส์ หรือจำเป็นต้องใช้โปรแกรมเกี่ยวกับกราฟฟิคที่มีความละเอียดสูงก็ควรที่จะเลือกใช้งานการ์ดจอที่มีคุณภาพสูงขึ้นอย่างการใช้การ์ดจอ 3 มิติ ซึ่งจะทำให้ได้ผลตามความต้องการอย่างที่ตั้งใจเอาไว้มากกว่า


หัวขอที่ 5 ฮาร์ดดิสก์
Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระบบปฏิบัติการ โปรแกรม (ซอฟต์แวร์) และไฟล์ข้อมูลต่างๆ ซึ่งจะถูกเก็บไว้ถาวรไม่หายไปเหมือนกับ Ram เมื่อมีการปิดคอมพิวเตอร์หรือไม่ได้ใช้งานคอมพิวเตอร์แล้ว แต่ข้อมูลที่เราบันทึกไว้จะอยู่ในฮาร์ดดิสก์และไม่ถูกลบเหมือนกันกับแรม

ในอดีตฮาร์ดดิสก์ถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบก็คือแบบ IDE (ฮาร์ดดิสก์แบบที่ใช้สายแพเป็นสายไฟจำนวนมากๆ) และ SATA แต่ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์มีแต่แบบ SATA เท่านั้น (SATA, SATA 2, SATA 3 และอาจจะมี SATA 4 เกิดขึ้นในอนาคตก็เป็นได้) แต่ที่แปลกกว่านั้น เราสามารถที่จะแบ่งฮาร์ดดิสก์ออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะและรูปแบบการผลิตนั่นคือ
1.      Solid-State Drive (SSD) – ฮาร์ดดิสก์ที่มีลักษณะการเก็บข้อมูลในรูปแบบใหม่ล่าสุดในปัจจุบัน มีการเก็บข้อมูลลงระบบแผงวงจร ซึ่งจะต่างจากฮาร์ดดิกส์แบบแต่ก่อน ที่จะต้องใช้จานหมุนเป็นการเก็บข้อมูล ฮาร์ดดิสก์ชนิด SSD จะไม่มีการเคลื่อนไหว มีขนาดเล็กและเบา มีความเร็วสูงกว่าฮาร์ดดิสก์ทั่วไปถึง 100 เท่า การเข้าถึงข้อมูลแบบ Random สามารถทำงาได้ดี เพราะไม่ต้องรอหัวอ่านเลื่อนมายังตำแหน่งที่มีข้อมูลอยู่ และความสามารถมากมายอีกเยอะ แต่ราคาในปัจจุบันก็ยังถือว่าสูงมากๆ เมื่อเทียบกับขนาดที่เราจะได้รับ

2.      Hard Disk Drive (HDD) ฮาร์ดดิสก์แบบเก่า ที่ใช้งานมานาน ลักษณะจะมีทั้งขนาด 2.5 และ 3.5 ขณะใช้งานอยู่จะมีการหมุนหรือการเคลื่อนที่ของจานหมุนฮาร์ดดิกส์ ซึ่งความเร็วมีตั้งแต่ 5,400rpm (ฮาร์ดดิกส์ขนาด 2.5 นิยมใช้งานใน Notebook), 7,200rpm (ฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5 ใช้งานบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป คอมพิวเตอร์ PC หรือคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ)10,000 – 15,000rpm (เป็นฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5 และ 3.5 ที่มีความเร็วในการหมุนที่สูง นิยมใช้งานกันบนเซิฟเวอร์หรือคอมพิวเตอร์ที่ต้องการการอ่านเขียนข้อมูลที่มีความเร็วสูง ฮาร์ดดิสก์ชนิดนี้ส่วนมากเรียกว่า SAS หรือ SCSI)

                   ฮาร์ดดิสก์ IDE vs SATA

        ฮาร์ดดิสก์แบบ SSD และ HDD

          การดูแลฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)

      ขั้นตอนการดูแลฮาร์ดดิสก์ง่ายๆด้วยโปรแกรม 2 ตัวดังต่อไปนี้
1.      CCleaner – เริ่มแรกให้ใช้งานโปรแกรม CCleaner เพื่อทำความสะอาดระบบคอมพิวเตอร์ และทำความสะอาดข้อมูลที่เป็นขยะออกจากฮาร์ดดิสก์เสียก่อน
2.      Defraggler – ใช้งานโปรแกรม Defraggler สำหรับเรียงข้อมูลภายในฮาร์ดดิสก์ เพื่อจัดระเบียบข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ซะใหม่ สามารถเพิ่มความเร็วให้กับการอ่านเขียนของข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ได้
หมายเหตุ: สำหรับฮาร์ดดิสก์ที่เป็นแบบ SSD ไม่จำเป็นที่จะต้องเรียงข้อมูลด้วยโปรแกรม Defraggler เพราะว่าฮาร์ดดิสก์แบบ SSD นั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกๆพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์โดยไม่ต้องรอหัวอ่านข้อมูลเหมือนฮาร์ดดิสก์แบบ HDD

 

หัวขอที่ 6 พาวเวอร์ซัพพลาย
วันนี้จะมาพูดถึงเรื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สำคัญแต่ถูกมองข้ามอีกหนึ่งอย่าง นั้นก็คือ พาวเวอร์ซัพพลาย ที่หลายๆคนแทบไม่รู้จักเลยว่ามันคืออะไร เพราะมันไม่ใช้ความแรง ความเร็ว ที่บอกถึงความสามารถของคอมพิวเตอร์ แต่หารู้ไม่ว่าเจ้า พาวเวอร์ซัพพลาย เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อคอมพิวเตอร์ มากอย่างไรมารู้จักกัน

Power Supply
Power Supply หรือเรียกภาษาชาวบ้านว่า ตัวจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ หน้าที่ของ Power Supply ไม่ใช้แค่เป็นตัวจ่ายไฟอย่างเดียว จริงๆแล้วหน้าที่หลังของ Power Supply คือตัวแปลงไฟล์ฟ้าจากระบบไฟฟ้าบ้านที่มีแรงไฟฟ้าที่เยอะเกินความต้องการของอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ เช่น ไฟฟ้าบ้านในไทยมีไฟฟ้าอยู่ที่ 220 โวลต์ แต่อุปกรณ์บางชนิดต้องการแค่ 3.3 โวลต์ 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามลำดับ หรือจะพูดง่ายๆคือ Power Supply เป็นตัวแปลงไฟฟ้าให้เหมาะสมกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์นั้นเอง

การพัฒนาของ Power Supply


โดย Power Supply แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ AT และ ATX ซึ้งสำหรับ AT เป็นแบบรุ่นเก่าที่มีสวิชปิดเปิดอยู่ที่ด้านหลัง Power Supply แต่มีปัญหาเวลาปิดเปิดที่สวิช เพราะบางครั้งอุปกรณ์ต้องการไฟจ่ายเลี้ยงอยู่ชั่วขณะหนึ่ง จึงพัฒนามาสู่ ATX ที่สามารถจ่ายไฟได้สม่ำเสมอกว่า โดย รุ่น ATX จะมีส่วนปิดเปิดต่อตรงเข้ากับเมนบอร์ดจึงทำให้ไฟที่ส่งเข้าอุปกรณ์ต่างๆ ที่ยังคงใช้งานอยุ่ได้รับไฟอย่างสม่ำเสมอมากกว่าแบบ AT โดยประเภท Power Supply มีรุ่นอยู่ 3 รุ่นดังนี้ ATX 2.01 แบบ PS/2 , ATX 2.03 แบบ PS/2 และ ATX 2.01 แบบ PS/3

หัวขอที่ 7 การ์ดแลน
การ์ดแลน(LAN Card) เป็นชื่อที่เรียกกันติดปากทั่วไป แต่คุณรู้หรือไม่ว่าชื่ออย่างเป็นทางการของมันมีชื่อว่า การ์ดอีเธอร์เน็ต มีไว้สำหรับรับ/ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะัมีสายที่ใช้เชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกัน เรียกว่า สายแลน การเชื่อมต่อเครือข่ายและจะทำให้เราสามารถและเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างเครื่องได้สะดวกมากขึ้น อีกทั้งสามารถดเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ง่ายๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหลักเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

ส่วนเครื่องอื่นก็ใช้การแชร์อินเตอร์เน็ตผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหลัก ความเร็วในการ์ดแลนจะอยู่ที่ประมาณ 100 Mbps และเริ่มเข้าสู่ 1000 Mbps หรือเรียกกันว่า กิกะบิตแลน(Gigabit LAN) แต่ก็อย่างว่าแหละัครับ การเชื่อมต่อแบบแลนคือการแชร์ บางคนอาจจะเปิดมาก หรือเปิดน้อยขึ้นอยู่ว่าจะเล่นแบบไหน อาจทำให้เกิดการดึงกันระหว่างเครื่อง เครื่องที่เล่นไฟล์ที่ต้องใช้การดาวน์โหลดมากๆ ก็จะทำให้เครื่องอื่นเล่นได้ช้าลง
             

การ์ดแลน

หัวขอที่ 8 การ์ดเสียง
การ์ดเสียงเป็นอุปกรณ์อีเล็คทรอนิค ที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถสร้างเสียงต่างๆ ได้ การ์ดเสียงมีหลายแบบ เช่น
แบบ Fm จะเป็นการ์ดเสียงที่ใช้กันทั่วๆ ไป มีราคาถูก เหมาะสำหรับการเล่นเกม ฟังเพลง จากแผ่นซีดีเพลง สามารถเล่นไฟล์ เสียงประเภท Wav, Voc ได้ดี

            แบบ Wavetable เป็นการ์ดเสียงคุณภาพสูง เหมาะสำหรับงานดนตรี แต่งเพลง ปัจจุบัน มีการสร้างเป็นไฟล์แบบ Midi หรือเป็นเพลงบรรเลง ซึ่งจะช่วยให้สามารถ ร้องเพลงคาราโอเกะกับ คอมพิวเตอร์ได้ เช่น ใช้โปรแกรม NCN คาราโอเกะ คุณภาพเสียงที่ได้จะดีว่าการ์ดแบบ FM แต่การ์ด แบบนี้ไม่เหมาะจะนำไปเล่นเกม เพราะจะให้เสียงที่ไม่ค่อยดีและราคาค่อนข้างแพงกว่าแบบ Fm การ์ดดีๆ ตัวเป็นหมื่น

แบบผสม มีการ์ดในปัจจุบันหลายยี่ห้อเป็นแบบผสม ทั้ง Fm และ Wavetable เข้าด้วยกัน ช่วยให้สามารถเล่นเกมได้เสียงสมจริง และฟังเพลงได้อรรถรส เป็นรูป แบบการ์ดที่ขายกันในปัจจุบัน
การ์ดเสียงแบบ ISA
 การ์ดเสียงแบบ PCI
ที่ตัวการ์ดเสียงจะมีตำแหน่งสำหรับต่อสายลำโพง (SPK หรือ Speaker Out หรือ Audio Out) ช่องต่อไมค์ (Mic) ช่องต่อสัญญาญเข้า (Line In) สำหรับนำ สัญญาณจากที่อื่นเข้ามาช่อง Line Out สำหรับนำสัญญาณออกไปเข้าเครื่องขยายและพอร์ตสำหรับต่อจอยสติ๊กหรือเครื่องดนตรี เช่น คีย์บอร์ดแบบ General Midi

            นอกจากนี้อาจแยกลักษณะของการ์ดเสียงได้อีกแบบ คือการ์ดเสียงแบบการ์ดขยาย เป็นการ์ด ส่วนใหญ่ในท้องตลาด เป็นการ์ดเดี่ยวๆ สำหรับนำไปเสียบกับสล็อต บนเมนบอร์ด และอีกแบบหนึ่ง ก็คือการ์ดเสียงออนบอร์ด โดยจะมีการระบุข้อความต่างๆ ในการโฆษณา เช่น Sound Wavetable AC' 9, Audio AC97 Onboard หรือ Sound on board ซึ่งจะถูกออกแบบให้ติดอยู่กับเมนบอร์ด สะดวก ดีเหมือนกัน ไม่ต้องเสียเงินซื้อการ์ดแยกต่างหาก

การเลือกซื้อการ์ดเสียง
            ถ้ามีงบมากสักหน่อย เลือกของ Creative Sound blaster สักรุ่น พร้อมลำโพง แบบ 4.1 ลำโพงเล็ก 4 ตัว ซับวูฟเฟอร์ 1 ตัว ความสุนทรี ก็เกือบเทียบเท่าอยู่ในโรงหนัง ที่มีระบบเสียง Dolby System ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม รับรองว่าได้สัมผัสทุกรสของเสียง
ถ้ามีงบน้อยๆ ก็เลือกการ์ดเสียงที่มีคุณสมบัติ Wavetable ในตัว ไว้ร้องเพลงคาราโอเกะ NCN หรือ Nick Karaoke ก็พอฟังได้ ต่อเข้าเครื่องขยายก็ดังสนั่น พอได้ อารมณ์เหมือนกัน




       หัวขอที่ 9 CD รอม
            ซีดีรอม ( CD ROM )
ซีดีรอม (CD ROM ย่อมาจาก Compact disc Read Only Memory) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลชนิดหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Media) ลักษณะเป็นแผ่นจานกลมคล้ายแผ่นเสียงหรือแผ่นคอมแพคดิสก์สำหรับฟังเพลง ข้อดีคือ เก็บข้อมูลได้ปริมาณมากกว่าดิสก์เก็ต ซีดีรอม 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูลเทียบเท่ากับดิสก์เก็ตความจุ 1.44 MB จำนวน 600 แผ่น หรือเท่ากับฮาร์ดดิสก์ขนาดความจุ 600 MB ในขณะที่ราคาของซีดีรอมถูกกว่าฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุเท่ากัน จากข้อดีดังกล่าวจึงมีผู้ผลิตซอฟต์แวร์ประเภทเกมส์และโปรแกรมบรรจุในซีดีรอมมากขึ้น
ประเภทของซีดีรอม
เมื่อดูจากสภาพภายนอกจะเห็นว่าซีดีรอมแต่ละแผ่นมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ แต่แท้ที่จริงนั้นซีดีรอมแบ่งออกได้หลายประเภท การแยกประเภทของซีดีรอมนั้น แยกตามข้อกำหนดของหนังสือที่ระบุเกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตสื่อเก็บข้อมูลซีดีรอม เช่น Yellow CD หมายถึง ซีดีรอมที่ถูกผลิตตามข้อหนังสือหน้าปกสีเหลืองเป็นต้น
ปัจจุบันแบ่งประเภทของซีดีรอมออกได้หลายประเภท ตามสีของหน้าปกหนังสือที่กำหนดลักษณะของซีดีรอม ดังต่อไปนี้
Yellow CD หรือ DATA Storage CD
Red CD / Audio CD
CD-ROM XA หรือ Multi-session CD หรือ ISO 9660
Mixed Mode CD
Yellow CD หรือเรียกว่า DATA Storage CD
CD-RW และ CD-R
            
 CD-R (ซีดี-อาร์) และ CD-RW (ซีดี-อาร์ดับบลิว) เป็นสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลที่ได้รับความ
นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนี้ เนื่องจากเป็นสื่อที่รองรับการบันทึกข้อมูลได้หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสารที่บันทึกจากโปรแกรมชุดสำนักงาน เช่น Word, Excel, PowerPoint ไฟล์เสียงเพลง (Audio File) ไฟล์ภาพยนตร์ (Movie File) ไฟล์รูปภาพ และอื่นๆ อีกมากมาย


         CD-R (ซีดี-อาร์) เป็นแผ่นซีดีที่สามารถบันทึกได้ แต่ไม่สามารถแก้ไขข้อมูล ลบข้อมูลทิ้ง หรือบันทึกข้อมูลเดิมซ้ำได้ จึงเหมาะสำหรับการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ต้องการแก้ไขแล้ว อย่างไรก็ตาม แผ่น CD-R นี้ ผู้ใช้งานสามารถบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมลงไปในแผ่นที่มีข้อมูลอยู่แล้วได้อีกหลายครั้ง จนกว่าพื้นที่ในแผ่นจะเต็ม โดยการบันทึกแต่ละครั้งนี้ จะถูกแยกออกเป็นส่วนๆ ที่เรียกว่า Session ซึ่งในการใช้โปรแกรมเฉพาะสำหรับการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดี เช่น โปรแกรม Nero ผู้ใช้งานจำเป็นต้องกำหนดการบันทึกให้เป็นแบบ Multi-session คือกำหนดให้แผ่นสามารถบันทึกเพิ่มเติมได้หลายๆ Session จนกว่าแผ่นจะเต็ม --- แต่ในกรณีที่ใช้ฟันก์ชั่นของ Windows XP ในการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดี การบันทึกด้วยวิธีนี้จะกำหนดให้เป็น Multi-seesion ให้โดยอัตโนมัติ 

ส่วนประกอบ


              หัวขอที่ 10 การ์ด USB

            USB คืออะไร
เคยได้ยินการเชื่อมต่อระบบ USB มาแล้วนะคะ
และบางคนก็ใช้การเชื่อมต่อระบบผ่าน พอร์ท USB มามากมาย
แต่ยังไม่มีใครทราบว่า USB คืออะไรเรามารู้จักกับคำว่า USB กันดีกว่านะคะ
           USB หรือ Universal Serial Bus คือ ระบบเชื่อมต่ออนุกรมความเร็วสูงของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ I/O (Input/output devices) อื่น ๆ ที่นำมาเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็น Printer, Modem, Mouse, Keyboard, Digital Camera และอื่นๆ อีกมากมายคะ โดยในปัจจุบันถือเป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมที่คอมพิวเตอร์ยุคใหม่ควรจะต้องมี ทุกวันนี้ USB พัฒนามาถึง version 2.0 สามารถโอนถ่ายข้อมูลความเร็วสูงถึง 480 Mbps โดย USB
version 1.1 มีความเร็วสูงสุดที่ 12 Mbpsคะ





พอร์ตยูเอสบี (usb port)
พอร์ตยูเอสบี (usb port) คือ ช่องเชื่อมต่อที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับพีซีคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถรับส่งข้อมูลให้รวดเร็วขึ้นคะ ด้วยความเร็วถึง 12 Mbits/s และก็สูงสุดประมาณ 400 Mbits/s บน USB 2.0 นะคะ นอกจากนี้ USB Port สามารถต่ออุปกรณ์ได้มากถึง 127 ชิ้น เพราะมีแบนด์วิดธ์ในการรับส่งข้อมูลสูงกว่า และสามารถใช้กับระบบปลั๊กแอนด์เพลย์ (plug and play คือ เมื่อติดตั้ง อุปกรณ์เข้าไปอุปกรณ์นั้นๆจะสามารถทำงานได้ในระดับหนึ่งเลย)
พอร์ตยูเอสบีจะเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สูงประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1-2 เซ็นติเมตร





อ้างอิง
http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/cpu-2/

http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94/

http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94/

http://clear-com.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1/

https://downloaddd.in.th/knowledge/computer/harddisk

https://www.modify.in.th/236


https://downloaddd.in.th/knowledge/computer/harddisk

http://itsentre.blogspot.com/2013/03/lan-card.html


http://www.siamebook.com/lbro/en/basic-computer/34-01001/3873-sound-card-computer.html

http://aung-maisard.blogspot.com/2010/11/5-cd-romcd-rcd-rw.html

https://www.baanmaha.com/community/threads/28647-USB-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3